1. เพื่อศึกษาระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนอย่างมีระบบ ได้แก่ ต้องมีตัวป้อน(Input) คือ คู่มือและอุปกรณ์ในการห่อเหรียญโปรยทาน มีกระบวนการทำงาน(Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือ เหรียญโปรยทานทำด้วยฝีมือของเราเอง และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการห่อเหรียญโปรยทาน
2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้วิธีระบบ
ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
1. ในขั้นตอนการศึกษาวิธีการห่อเหรียญ เป็นวิธีที่สลับซับซ้อนจึงทำให้สับสน
2. ริบบิ้นที่ใช้พับรื่นในช่วงแรกจะทำให้ยากต่อการพับ
3. ขั้นการปฏิบัติจะทำผิดบ่อย ๆ โดยการสอดริบบิ้นผิดช่องทำให้ไม่ได้รูปตามที่ต้องการ
วิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ศึกษาขั้นตอนการทำอย่างละเอียด และสอบถามจากผู้รู้
2. ฝึกทำบ่อย ๆ ทำให้เกิดความชำนาญ และสามารถทำได้อย่างสวยงาม
3. ลองทำบ่อย ๆ และจดจำในขั้นตอนการทำที่ถูกต้อง
ความรู้ที่ได้รับจากการนำวิธีระบบมาใช้ในการห่อเหรียญโปรยทาน
1. ได้รับความรู้ในการวางแผนปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการหาตัวป้อน (Input) คือ คู่มือในการทำและอุปกรณ์ในการทำ มีกระบวนการทำงาน (Process) คือขั้นตอนในการทำงาน มีผลผลิต(Output) คือ เหรียญโปรยทาน และมีข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) คือ ผลที่ได้จากการทำเหรียญโปรยทานทำให้เราทำเป็นและสามารถนำไปใช้ในงานบวชได้
2. ได้ผลงานที่มีความภูมิใจ
3. สามารถนำวิธีการห่อเหรียญนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแบบอื่น ๆ ที่สวยงามได้
4. สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จได้
ภาพขั้นตอนการห่อเหรียญโปรยทาน
ขั้นที่ 1 ดอกไม้ 1 ดอก จะใช้ริบบิ้น 4 เส้น 1 เส้นมีความยาวประมาณ 8 นิ้วนำแต่ละเส้นมาพับครึ่งจัดเตรียมไว้ทั้งหมด 4 เส้น



ขั้นที่ 5 พับริบบิ้นไปมาตามรูปเพื่อทำการห่อเหรียญ


ขั้นที่ 6 ทำกลีบดอกไม้พับตามรูปอีกทบนึงทบสุดท้ายจะได้เส้นริบบิ้นพาดลงมา แต่จะไม่พาดเฉยๆ เอาสอดเข้าฝักให้เรียบร้อยเวลาสอดลงมาจะได้เป็นกลีบตามรูป ทำต่อให้ครบ 8 กลีบ

ขั้นที่ 7 ทำนมสาว (ขั้นสุดท้ายแล้ว)จับปลายริบบิ้นแต่ละด้าน สอดกลับหลังหันไปตามช่องที่สานเอาไว้ทำให้ครบทั้งสองด้าน ที่ตูมๆขึ้นมาชิดกัน จึงเรียกว่านมสาว
ขั้นสุดท้าย เอากรรไกรมาตัดส่วนที่เกินออกเตรียมใส่พาน

เย้ ! เสร็จแล้วผลงานของเรา
